วัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ

วัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ

      วัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

                                                              งานฉลองอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล



      ที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัด และสี่แยกอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล ช่วงเดือนมกราคมของทุกมีขบวนแห่สักการะอนุสาวรีย์เจ้าพ่อ ขบวนถวายช้างแด่เจ้าพ่อ และขบวนแห่ของอำเภอต่างๆ มีการประกวดผลิตผล
ทางการเกษตร

                                                                            งานแห่เทียนเข้าพรรษา



       เป็นงานที่เทศบาลเมืองชัยภูมิจัดขึ้นทุกปี ประมาณเดือนกรกฎาคม มีการประกวดเทียนพรรษาที่ประดิษฐ์อย่างสวยงาม มีงานประเพณีอื่นๆ ที่จัดเป็นประจำทุกปี

                                                                                 งานบุญบั้งไฟ


บุญเดือนหก จัดประมาณเดือนพฤษภาคม

                                                                                   งานบุญข้าวจี่


เป็นการฉลองเมื่อเสร็จสิ้นการทำนา จัดประมาณเดือนกุมภาพันธ์

                                                                                งานบุญพระเวส


งานบุญเดือนสี่ จัดประมาณเดือนมีนาคม มีการเทศน์มหาชาติ

                                                                งานประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อพระยาแล



       จัดที่บริเวณศาลหนองปลาเฒ่า ระหว่างวันที่ 12-20 พฤษภาคม ของทุกปี ชาวบ้านจะไปเคารพสักการะ
ดวงวิญญาณของเจ้าพ่อ และรำถวายเจ้าพ่อที่ศาลหลังเก่า

                                                                                 ประเพณีรำผีฟ้า


        เป็นการรำบวงสรวงเป็นกลุ่มๆ ที่ภูพระ ซึ่งมีพระเจ้าองค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปแกะสลักหินทราย ที่ชาวบ้านเชื่อว่า มีความศักดิ์สิทธิ์มาก จะมีขึ้นในระหว่างวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 5 คือเดือนเมษายน และในวันเข้าพรรษา 
วันออพรรษา

                                                                                  งานบุญเดือนสี่


         เป็นงานประเพณีของชาวอำเภอคอนสาร ในวันขึ้น 1-3 ค่ำ เดือน 5 ราวกลางเดือนมีนาคม ในงานนี้ชาวบ้านจะนิยมเล่นสะบ้า แข่งขันกันเพื่อชิงรางวัล และความสนุกสนานในบริเวณวัดเจดีย์ อำเภอคอนสาร

                                                                            ประเพณีแห่กระธูป


      งานโฮมบุญแห่กระธูปเทศกาลออกพรรษา วันออกพรรษา ของทุกปี ทุ่งหลวงศิริ อำเภอหนองบัวแดง
จังหวัดชัยภูมิ

                                                                           ประเพณีแห่นาคโหด


       ประเพณีแห่นาคโหด ที่บ้านโนนเสลาถือเป็นประเพณีโบราณและปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาหลายร้อยปีหลายชั่วคนที่มีแห่งเดียวในโลก เพื่อที่ชาวบ้านจะได้มาร่วมกันจัดงานอุปสมบทหมู่ให้กับคนหนุ่มบุตรหลานในหมู่บ้านที่มีอายุครบ 20 ปี ถือเป็นวันขึ้น 1 ค่ำ แรม 15 ค่ำ ของเดือนหกเป็นประจำทุกปีเพื่อให้ลูกหลานได้บวชแทนคุณบิดามารดา ด้วยความตั้งใจของผู้ประสงค์จะบวชเอง ซึ่งจะมีการเตรียมตัวมาตั้งแต่เดือนสี่ ผู้เป็นบิดาจะพาบุตรชายไปฝากไว้กับเจ้าอาวาส ใน 2 วัดของหมู่บ้านโนนเสลา คือวัดบุญถนอมพัฒนาราม(วัดนอก) และวัดตาแขก(วัดใน) เพื่อถือขัน 5 ประกอบด้วยเทียน 5 คู่ ดอกไม้ 5 คู่ ไปฝากตัวเป็นนาคปฏิบัติธรรมถือศีล 8 อยู่ที่วัด เรียนรู้บทสวดที่จะบวช และเรียนรู้พระธรรมวินัยเบื้องต้น ก่อนถึงกำหนดวันบวชของประเพณีงานบุญเดือนหก


        ซึ่งถือว่าวันแห่นาคโหด จะเป็นวันสำคัญในการที่ประชาชนทุกคนในหมู่บ้านจะต้องออกมามีร่วมรวมแห่นาคเข้าวัด ที่เป็นตำนานของประเพณี    แห่นาคแบบแปลกประหลาดและโหดที่สุด ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน โดยจะใช้คนหนุ่มที่ยังไม่ได้บวชของแต่ละหมู่บ้านที่มีรุ่นพี่บวช มาช่วยกันหามแข้ไม้ไผ่ แห่นาคไปรอบหมู่บ้าน และเขย่า โยนนาค อย่างรุนแรง เพื่อความสนุกสนาน และถือเป็นการทดสอบความตั้งใจว่าผู้บวชจะมีความมุ่งมั่นอดทนจริงจังที่จะบวชแทนคุณบิดามารดา หรือไม่ ที่จะต้องประคองตัวเองคือผู้ที่จะบวชไม่ให้ตกลงมาจากแข้ไม้ไผ่หามให้ได้ เพราะถ้าใครตกลงมาถูกพื้นดินจะถือว่าขาดคุณสมบัติไม่ให้บวช ในตลอดระยะเส้นทางแห่รอบหมู่บ้านก่อนเข้าวัดทำพิธีบวช ระยะทางกว่า 3 กิโลเมตรให้ได้


       ซึ่งตั้งแต่ที่มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างจริงจังมากขึ้นตั้งแต่ปี 2514 มาจนวันนี้ ถือว่ายังไม่มีผู้ใดที่ตกลงมาถูกดินและสามารถเข้าพิธีบวชได้ทุกราย ถึงแม้จะมีการได้รับบาดเจ็บถึงขั้นศรีษะแตกและแขนหลุดบ้างก็มีหลวงพ่อจำปี สุจินโน เจ้าอาวาสวัดตาแขก กล่าวว่า ประเพณีแห่นาคโหด ชาวบ้านโนนเสลาถือเป็นงานประจำปีปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน ซึ่งผู้บวชเองที่เข้าร่วมพิธีเอง ถือว่าถ้าไม่โหดก็ไม่บวช และทาง อบต.หนองตูม เองก็เข้ามาช่วยส่งเสริมก็ถือเป็นเรื่องที่ดีที่ชาวบ้านเห็นร่วมกัน
      ด้านนางกองเวิน เข็มภูเขียว วัย 63 ปี ราษฎรอาวุโสที่ชาวบ้านโนนเสลา ให้ความเคารพจำนวนมาก กล่าวว่า การแห่นาคโหด ตั้งแต่เกิดมาก็เห็นประเพณีนี้แล้ว ซึ่งปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ถือกันว่าถ้าแห่นาคไม่โหดก็จะไม่บวชกัน เป็นอย่างนี้มาตลอดทุกปีช่วงเทศกาลอุปสมบทหมู่ประจำหมู่บ้านในเดือนหก ของทุกปี
      ซึ่งถือว่าคนรุ่นหนุ่มสมัยอดีต จะเป็นการปฏิบัติต่อกันรุ่นต่อรุ่นนั้นรุ่นนี้แห่กัน คนหามโหด เมื่อมาเจอคิวบวชของตนเองรุ่นน้องก็โหดต่อกันมาเรื่อยๆเป็นรุ่นๆกันไป ตามประสาคนหนุ่มในหมู่บ้านขณะที่นายสนิท ศรีบุดดา ไวยาวัจกรวัดตาแขก กล่าวว่า การจัดอุปสมบทหมู่ของหมู่บ้านจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี หรือแห่นาคโหด ถือว่าเป็นการสะท้อนถึงความอดทน กลั้นของผู้ที่จะเข้าบวชแทนคุณบิดามารดาที่ให้กำเนิดมา และชาวบ้านที่นี่อยากให้ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังสืบทอดต่อไป เป็นประจำทุกปี ซึ่งอาจจะมีการมองว่ามีความรุนแรง แต่ชาวบ้านคนหนุ่มที่นี่ กลับมองว่าเพื่อการแสดงถึงความกตัญญูกตเวที ต่อบิดามารดา การได้รู้จักการอดกลั้นความตั้งใจของผู้บวชเองมากกว่า
     ด้านนายธาดา รัตนาธิวัฒน์ นายก อบต.หนองตูม เปิดเผยว่า การส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามแห่นาคโหด อบต.ตั้งบประมาณไว้ส่งเสริมิย่างต่อเนื่องอย่างเต็มที่ทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นประเพณีเก่าแก่แต่โบราณของคนที่นี่ และถือว่าจะเป็นจุดส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดชัยภูมิ ที่มีแห่งเดียวในโลกก็ว่าได้
     ซึ่งเรามีหน้าที่บำรุงพระพุทธศาสนา และการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ทั้งหมดช่วยกันเตรียมงานมาต่อเนื่องนับเดือนเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ลูกหลานคนในชุมชนได้ปฏิบัติตนในสิ่งงามก่อนเข้าวัด และการแห่นาคโหดที่ชาวบ้านจะพากันเขย่าหามนาคอย่างแรงนั้น เพื่อที่จะทำให้นาคนึกถึงความอดทน เข้มแข็ง และจะสามารถบวชสืบทอดพระพุทธศาสนาโดยผ่านอุปศักดิ์ไปด้วยดีได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อุทยานแห่งชาติไทรทอง น้ำตกไทรทอง

•  อุทยานแห่งชาติไทรทอง  อยู่ในท้องที่อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอเทพสถิต อำเภอภักดีชุมพล และอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ มีเนื้อที่ประมาณ ...